วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 15 ปิดคอร์ส นำเสนอผลงานวีดิทัศน์, สรุปบทเรียน, แนะแนวสอบปลายภาค

วันที่ 13 กันยายน 2553
นำเสนอสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง e-learning
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในเทอมนี้
วิชานี้เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีวิธีการสอนและสื่อการสอนดี ข้าพเจ้าชอบการเรียนแบบนี้ เพราะมีทั้งการเรียนในสถานที่จริง ได้ปฏิบัติจริง เช่นในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยได้ทำมาก่อนแล้วได้ทำ ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้วิธีการทำงานร่วมกับเพื่อน และรู้ว่าจะทำงานอะไรนั้นต้องมีความพยายามและความอดทนงานนั้นถึงจะสำเร็จ งานชิ้นนี้เป็นความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าและเพื่อนเป็นอย่างมากเพราะได้มาด้วยความยากลำบากและการทำงานชิ้นนี้ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น

ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ช่วยสอนให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 14 เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 6 กันยายน 2553
คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา




แนวคิด
คุณธรรม (Virtue) คือ ความประพฤติดีจนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่งคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี ได้แก่
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็
จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น เช่น คุณธรรมแห่งความยุติธรรม
ความกล้าหาญในการตัดสินใจ ความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ความเมตตากรุณา เป็นต้น

จริยธรรม (Ethics) คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเองก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)
1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทำให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจาก
นามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คำปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม

คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านบุคลิกภาพ(คุณลักษณะส่วนตัว)
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-มีความคิดสร้างสรรค์
-มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
-เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
-รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. ด้านความรู้(คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)
-มีความรู้สามารถให้คำแนะนำ, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้
-มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
-สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
-สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
-รู้จักวางแผนและวางระบบการทำงาน
-รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ

นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องมีความสามารถ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
2. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ใฝ่รู้ตลอดเวลา
3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ
4. มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
5. มีความเป็นผู้นำในการใช้ช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
6. มีความอดทน วิริยะอุตสาหะ พากเพียรในการทำงานเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้
7. มีใจรักในการงาน และมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
8. การเปิดใจรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และฟังเหตุผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือช่องทางที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้
9. ทำงานด้วยความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในปัจจุบัน
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานในสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่สามารถประกอบอาชีพอิสระทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ต้องมีเครือข่ายในการเรียนรู้

7 บุคลิกภาพพื้นฐานของนักเทคโนโลยีการศึกษาไทย
1. การมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลนได้ ฉะนั้น เมื่อเราจะมองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดหรือรู้สึกติดลบได้
2. การแต่งกาย การแต่งกายบ่งบอกความพิถีพิถันและเอาใจใส่ตัวเอง ช่วยทำให้คนคนหนึ่งดูดีหรือดูแย่ได้ ทุกครั้งที่เลือกเครื่องแต่งกายหรือกำลังจะแต่งกาย ให้ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
3. การพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ มีน้ำเสียงชวนฟัง เสียงดังฟังชัด ฉะฉาน และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง ทั้งยังต้องคำนึงถึงสถานที่ เวลา และโอกาสด้วย
4. การเดิน ให้เดินตัวตรง อกผายไหล่ผึ่งเพื่อให้ดูสง่า แต่ไม่ต้องถึงกับหลังตรงตัวแข็งเหมือนนักเรียนนายร้อย เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย เวลาเดินให้ก้าวเท้ายาวพอประมาณ และสอดคล้องกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่ ว่าก้าแค่ไหนจึงดูคล่องแคล่วและปลอดภัย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป เพราะเสียงฝีเท้าจะไปรบกวนผู้อื่น ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ ท่าทางที่ดีจะต้องมาจากพื้นฐานของความสงบ สำรวม ให้เกียรติทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ควรมีท่าทางประกอบเพื่อให้ดูผ่อนคลาย เป็นธรรมชาติ สง่า และเสริมในสิ่งที่พูดหรือเล่า นอกเหนือจากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีท่าทางประกอบแต่อย่างใด
6. ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใดๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่าให้น้อยไปกว่าความสามารถที่เรามีหรือทำได้ ความน่าชื่นใจของผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างานทุกคนก็คือ การมีเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องที่ทำงาน "เต็มความสามารถ" อยู่ตลอดเวลา นั่นคือบุคลิกแห่งความสำเร็จด้วยค่ะ
7. สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่ป่วยออดๆ แอดๆ จะดูเป็นคนขี้โรค ซึ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าน่าชื่นชม ดูอ่อนแอ ไม่คล่องแคล่ว โรคบางรคส่งผลถึงความซีดเซียว ห่อเหี่ยว หม่นหมอง จึงขาดสง่าราศี การดูแลสุขภาพให้ดีคือต้นทุนของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญที่สุด

-----------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่13 นำเสนองานโดยโปรแกรม Mindjet MindManager

วันที่ 30 สิงหาคม 2553
นำเสนองาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้โปรแกรม Mindjet MindManager

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้

วันที่ 23 สิงหาคม 2553

สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1.สภาพการเรียนการสอนในระบบ
การเรียนการสอนในระบบ (formal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน
2.สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
การสอนนอกระบบ (informal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือ การเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
3.สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การเรียนการสอนตามอัธยาศัย ( nonformal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการเรียนการสอนนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา
2.เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และได้มีการคาดเดาว่าในอนาคตจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งทางศูนย์คอมพิวเตอร์ก็ได้มีการผลิตโปรแกรมทางการศึกษาออกมาไว้ให้บริการตลอดเวลาหรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียวหรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้
M-Learning คือ การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายและเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Ubiquitous Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูปที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สาย
Hybrid Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียนกับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุดของทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
Adaptive Learning คือ การเรียนรู้ด้วยการปรับตัวเป็นรูปแบบ วิธีการเรียนรู้ที่เน้นความสามารถในการเรียนรู้วึ่งขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาหรือประสบการณ์ของผู้เรียน
Video on Demand คือ ระบบการเรียกดูวีดิทัศน์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูวีดิทัศน์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ
สถานีวิทยุออนไลน์ คือ การให้บริการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
ได้มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้น

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 11 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


วันที่ 16 สิงหาคม 2553

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
- พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
- พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

สิทธิผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา
- ความรู้ความสารถในการอบรมเลี้ยงดู
- เงินดุดหนุน
- การหลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15-21
- การศึกษาในระบบ
- การศึกษาตามอัธยาศัย
- การศึกษานอกระบบ

การศึกษาในระบบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ไม่น้อยกว่า 12 ปี
-ระดับและประเภทเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
-ระดับต่ำกว่าปริญญา
-ระดับปริญญา

การศึกษานอกระบบ
การศึกษาภาคบังคับ
-9ปี
-ย่างปีที่ 7 ถึงย่างปีที่ 16 ยกเว้นสอบได้ปีที่ 9
-การนับอายุ เป็นไปตามกฎกระทรวง
สถานพัฒนาปฐมวัย
-ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ..
-สถานพัฒนาเด้กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่นโรงเรียน
-โรงเรียนของรัฐ เอกชน
-โรงเรียนสังกัดสถาบันพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นศูนย์การรียน
-สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ...เป็นปชผู้จัด

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 22-30
ผู้เรียน
-ทุกคนมีความสามารถ
-พัฒนาตนเองได้
-มีความสำคัญที่สุด

หลักสูตรแกนกลาง โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นฐาน
-ความเป็นพลเมืองดี
-เพื่อความเป็นไทย
-การดำรงชีวิต การประกอบอาชี การศึกษาต่อ
-หลักสูตรแกนกลาง

หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษามาตรา 33-46
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐกระทรวงมีอำนาจหน้าที่
-ส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ
-กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐาน
-สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
-ส่งเสริม ประสานงานการศาสนา สิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา
-ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 2การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อปท
-จัดการศึกษาได้ทุกระดับ
-ความพร้อมและความต้องการของท้องถิ่น
-กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน
-มีความเป็นอิสระ
-กำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานจากรัฐ
-เป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหาร
-รัฐสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์อื่น

หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
ประกันคุณภาพภายใน
-เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร
-รายงานต่อต้นสังกัด
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ประกันคุณภาพภายนอก
-โดยสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)
-อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี
ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกููล
จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
-จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล รัฐและเอกชนเท่าเทียมกัน
-จัดสรรทุนการศึกษา ในรูปกองทุนกู้ยืม จากครอบครัวผู้ีรายได้น้อย
-จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
หน้าที่ของรัฐ
-รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้
-ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์
-ส่งเสริมและสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
-พัฒนาบุคลากรด้านผู้ผลิต และผู้ใช้
-ส่เสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์
-ทำซ้ำหรือดัดแปลง
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บทกำหนดโทษ
ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
      พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้า
การบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
- ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)
- การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)
- การรับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)
- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์
หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
- การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
- การรบกวนระบบ (มาตรา 10)
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
- การดักข้อมูล (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
- สแปมเมล์ (มาตรา 11)
- การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ(มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ
-อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น
-อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
-อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
-อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
-การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 10 แนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับบริการที่ทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ต้องยึดถือในกรอบความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
-หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
-ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นนักออกแบบและจัดการการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ การออกแบบระบบการเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเป็นภารกิจหลักของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดความท้าทายจากวิทยาการที่เปลี่ยนไป
2. ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาสมัยใหม่

ลักษณะการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาจากแหล่งอื่นในสภาพการณ์ต่างที่ต่างกัน เพื่อมาทดลองในที่ใหม่ สภาพการณ์ใหม่
2. เป็นการวิจัยที่ดัดแปลง ขยายหรือเสริมแต่งความคิดและวิธีการเดิม
แล้วนำมาทดลอง เพื่อดูว่าใช้ได้ผลในขณะนี้หรือไม่ เพียงใด?
3. เป็นการวิจัยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่เคยทำไว้ก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
4. เป็นการวิจัยที่มีสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งในอดีตไม่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย
5. เป็นการวิจัยในสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่

ลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย
1.เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
3.ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
4.สร้างสมมติฐาน
5.พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล
6.สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย
7.การเก็บรวบรวมข้อมูล
8.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
9.ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป
10.การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์

การเปลี่ยนแปลงและทิศทางของการศึกษา
แนวคิดด้านการศึกษาที่ทำให้เกิดทิศทางและแนวโน้มของการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามวิวัฒนาการและการปฏิวัติทางความรู้ (Knowledge Revolution) ทำให้กระบวนทัศน์การเรียนรู้และสถาบันการศึกษาเปลี่ยนไป จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และสถาบันการศึกษา

ผลการศึกษาประเด็นของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
ผลจากการปฏิรูปการศึกษาในอดีตทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะรับผลของการปฏิรูปการศึกษา มีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารและการจัดการทางการศึกษา การจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตามข้อบังคับของกฎหมาย การเรียน
การสอน การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจ การใช้งบประมาณ และความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น ระบบมัลติมีเดีย, Web-based Learning, E-learning และ Virtual Classroom ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศมาใช้ ทั้งระบบที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายนำสัญญาณ และแบบไม่มีสาย หรือ Handheld and Wireless Technology

2. การวิจัยด้านการออกแบบการสอน หรือ Instructional Design ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของการเรียนที่เปลี่ยนแปลง เช่น การออกแบบการสอนแบบต่าง ๆ การใช้ยุทธวิธีการสอน การฝึกทักษะ และการใช้ Presentation Technologies

3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา เช่นการสอนและการสอบผ่านเครือข่าย Internet การสร้างบทเรียนและเรียนบนเครือข่าย Internetรวมทั้งระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่นระบบ Transaction Processing System, Management Information System, Decision Support System เป็นต้น

4. ด้านการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หรือ Leadership in Technology และการสนับสนุนเงินทุนทางด้านการใช้เทคโนโลยี หรือ Funding for Technology

แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาของต่างประเทศ
1. การควบคุมผู้เรียน
2. ยุทธศาสตร์การสอน
3. จิตวิทยาและเทคโนโลยีการศึกษา
4. การปฏิสัมพันธ์
5. งบประมาณและความคุ้มค่า
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ทฤษฎีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยี
8. รูปแบบการเรียนรู้
9. การนำมาใช้และเผยแพร่
10. การสร้างทฤษฎี และการพัฒนาการเรียนการสอน
11. องค์ประกอบที่มีผลในการออกแบบการเรียนรู้
12. ผลของเทคโนโลยีต่อสังคม

ทิศทางและแนวโน้มหรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (ในประเทศไทย) 1.จะมีการทดลองใช้เทคโนโลยี www. เพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการหลักสูตรมากขึ้น และผลการวิจัยจะมีการแสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการเรียนการสอนและลดข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี เป็นการเตรียมเข้าสู่ยุค E-Learning อย่างเต็มที่

2. จะมีการออกแบบระบบสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่ทำงาน เด็ก ผู้พิการ ผู้ต้องขังและผู้สูงอายุ

3. จะมีการนำเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมาใช้กับการศึกษาแบบเคลื่อนที่ (M-learning, U-learning) เช่น Mobile Phone (โทรศัพท์มือถือ) PDA และ Wi-Fi Technology สำหรับ Internet

4. จะมีการรับรองมาตรฐานของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นโดยมีกระบวนการและวิธีการรับรองมาตรฐานที่แตกต่างไปจากการรับรองมาตรฐานการผลิตผู้จบการศึกษาที่เป็นอยู่

5. จะมีการออกแบบโปรแกรมใหม่ ๆ นวัตกรรมการสอน และมีวิธีการสอนใหม่ๆ เกิดขึ้นตามศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น

6. จะมีการจัดกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะของการเรียนการสอนที่ดีและสิ่งแวดล้อมการเรียนที่ดีซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมสำคัญของการเรียน(การออกแบบ

7. จะมีการขยายขอบข่ายของการเรียนการสอนไปได้ไกลขึ้น เริ่มคิดถึงภาพรวมทั้งโลกมากกว่าระดับชุมชนหรือระดับชาติเท่านั้น สถานศึกษาจะมีวิทยาเขตได้ทุกแห่งในโลกที่มี Internet ไปถึง มีการเข้าสู่การเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ

สรุป
การวิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบในการแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งยืนอยู่บนกรอบแนวคิดในศาสตร์และขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยเพื่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษาซึ่งก็คือ

นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9

วันที่ 2 สิงหาคม 2553



............สอบระหว่างภาค......

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 นวัตกรรมการศึกษา

วันที่ 19 กรกฎาคม 2553

นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)


นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น


นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม

1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น

- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป -
ชุดการเรียน

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7 เรื่อง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ

วันที่ 12 กรกฎาคม 2553

- การเรียนในวันนี้เราได้ศึกษา เรื่อง จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ และนำตอบคำถามดังนี้

1. จงสรุปทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมัลติมีเดียมาพอเข้าใจ จำนวน 6 บรรทัด (ห้ามขาดและเกิน)
ตอบ ทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมัลติมีเดีย มีดังนี้
1.1 ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์
1.2 ทฤษฎีปัญญานิยม ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา
1.3 ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่

ดังนั้น ในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา จึงจำเป็นต้องนำแนวคิดของทฤษฎีต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง เพื่อให้ได้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

2. ถ้านิสิตจะออกแบบสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาจะสามารถนำจิตวิทยามาใช้ได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ถ้าจะออกแบบสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาจะสามารถนำจิตวิทยามาใช้ คือ สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมจะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการนำเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว ซึ่งเป็นลำดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็นลำดับการสอนที่ดี และผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3. พื้นฐานจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนการสอนมีอะไรบ้าง
ตอบ พื้นฐานจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนการสอน มีดังนี้
1). การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) คือ ที่เกิดจากการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม
2).การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
2.1 แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
2.2 สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
2.3 การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
2.4 การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง 3). การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) คือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป 4). การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) คือ ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น

4. จงสรุปหลักการของทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ว่ามีประโยชน์อย่างไรในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ตอบ หลักการของทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง คือ
1. ทำให้เราได้ฝึกการพัฒนาเชาว์ปัญญาขั้นสูง พัฒนาการทางภาษาและทางความคิด
2. ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
3.ทำให้เราได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ กับบุคคลอื่น ๆ เพื่อจะช่วยให้การเรียนรู้ของเรากว้างขึ้น ซับซ้อนขึ้น และหลากหลายขึ้น



วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 หลักการทางศิลปะในการนำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 5 กรกฎาคม 2553

- วันนี้ได้มีการศึกษาหลักการทางศิลปะในการนำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ วัสดุกราฟิก ซึ่งเราได้ศึกษาจากแบบการเรียนการสอน PowerPoint จากการศึกษาเเบบการเรียนแบบนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นิสิตเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น และได้นำความรู้ที่ได้มาตอบคำถาม ดังนี้

คำถาม

1.จงอธิบายถึงหลักศิลปะที่นำมาใช้ในการศึกษามีอะไรบ้าง
ตอบ หลักศิลปะที่นำมาใช้ในการศึกษา คือ นำมาใช้ในการออกแบบ ทำป้ายนิเทศ ป้ายประกาศต่างๆ ภาพวาด แผนภูมิ รูปปั้นหุ่นจำลอง และสัญลักษณ์ เป็นต้น

2.ลักษณะของแผนสถิติที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของแผนสถิติที่ดีมีดังนี้
2.1 แผนสถิติหนึ่งๆ ไม่ควรแสดงความสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบข้อมูลหลายข้อมูลเกินไป
2.2 ควรมีชื่อเรื่องของแผนสถิติ
2.3 ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ควรมีขนาดโตพอสมควร มีความสวยงาม
2.4 ถ้ามีการใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ตัวเลขหรือสี ควรแสดงความหมายใดๆ อย่างชัดเจน
2.5 ใช้สีหรือลวดลายเพื่อแสดงความแตกต่าง
2.6 บอกแหล่งที่มาของข้อมูล

3.แผนภูมิต้นไม้กับสายธารต่างกันอย่างไร
ตอบ ต่างกัน คือ แผนภูมิแบบต้นไม้ ใช้แสดงสิ่งหนึ่งแยกเป็นหลายสิ่ง แตกกิ่งก้านสาขาออกเหมือนลักษณะต้นไม้ใช้สอนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ เช่น ใช้แสดงสิ่งสำคัญหรือสิ่งใหญ่ก่อนแล้วจึงเกิดเป็นสิ่งย่อย ๆ ในภายหลัง ส่วนแผนภูมิแบบสายธาร ใช้แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่งมาจากหลายสิ่งรวมกัน หรือแสดงให้เห็นถึงการรวมของสาขาต่าง ๆ จนเป็นสายธารอันเดียว

4. แผนสถิติแบบใดแสดงรายละเอียดได้ถูกต้องที่สุด
ตอบ แผนสถิติแบบเส้นเป็นแบบที่แสดงข้อมูลได้ถูกต้องที่สุดและชัดเจนที่สุด

5. แผนสถิติแบบวงกลมใช้เมื่อใด
ตอบ แผนสถิติแบบวงกลมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนย่อยกับข้อมูลส่วนใหญ่

6. ตู้อันตรทัศน์คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ตู้อันตรทัศน์ เป็นวัสดุสามมิติที่จำลองเหตุการณ์ สถานที่ สภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสนอในห้องเรียนหรือในสถานที่ต่างๆ มีประโยชน์ คือ ตู้อันตรทัศน์จะช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจในการเรียนการ

7. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุกราฟิกมีอะไรบ้าง
ตอบ มีหลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ
7.1 เตรียมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนำไปใช้จริงเตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง
7.2 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัส ของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจำลองด้วยตนเอง
7.3 ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง
7.4 ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น
7.5 การนำเสนอสื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติ อาจกระทำได้
7.5.1 แสดงให้ดูพร้อมกันทั้งชั้น
7.5.2 มอบให้ผู้เรียนดูเป็นกลุ่มเล็กๆ
7.5.3 มอบให้ผู้เรียนนำไปศึกษารายละเอียดเป็นรายบุคคล

8. การประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นวัสดุกราฟิกหรือไม่อย่างไร
ตอบ การประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นวัสดุกราฟิก เพราะงานกราฟิกเป็นการออกแบบเพื่อสื่อการเรียนการสอนและตัวอักษรก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่งด้วย และปัจจุบันกราฟิกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเทคโนโลยี

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 ศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วันที่ 28 มิถุนายน 2553

จากการที่ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

- ทำให้ทราบถึงการแบ่งสื่อการเรียนการสอน ตามประสบการณ์ของ เดล ซึ่งเราก็ได้แบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วมกันทำกิจกรรมหลังดูงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น




ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของปลาโลมา เต่า และสัตว์ชนิดอื่นอีก และการใช้ ของตัวอย่าง (Specimen) เช่น กระดูกปลาวาฬ ฟันปลาฉลาม เป็นต้น


ขั้นที่ 3 การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้ เช่น การสาธิตการให้อาหารปลา การฟังบรรยายจากวิทยากร




ขั้นที่ 4 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น การได้ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


ขั้นที่ 5 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ เช่น ป้ายข้อมูลสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ป้ายการเเนะนำสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ขั้นที่ 6 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ


ขั้นที่ 7 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการเลือกนำไปใช้ สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ แผนภูมิต้นไม้ ห่วงโซ่อาหาร แผนที่แสดงที่ตั้งของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น


ขั้นที่ 8 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด เช่น ป้ายทางเข้า-ออก ป้ายทางหนีไฟ ป้ายห้องน้ำชาย-หญิง


- ทำให้ทราบถึงการนำงานประเภทกราฟิกมาใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพของปลาชนิดต่างๆ และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆอีก ตัวหนังสือที่เป็นข้อมูลของสัตว์น้ำ และสัญลักษณ์ เป็นต้น

2. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 3 มิติ รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาวส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่โดยธรรมชาติ เช่น

- หุ่นจำลองของสัตว์น้ำ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้

- ของจริงที่เราได้ยิน ได้เห็น สิ่งเร้าต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง

- ป้านนิเทศต่างๆ ที่ใช้แสดงเรื่องราว เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนการสอน

- ตู้อันตรทัศน์ที่แสดงฉากใต้ทะเล เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติ เรียนแบบธรรมชาติกระตุ้นความสนใจมีลักษณะเป็นฉาก มีความลึกคล้ายกับของจริง โดยมีกล่องพลาสติก หรือกระจก หรือแผ่นอคิริกใส ครอบอยู่


- กระบะทราย ที่แสดงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต เป็นทัศนวัสดุ 3 มิติที่นำเสนอเรื่องราวจำลองคล้ายของจริงบนพื้นทรายและมีวัสดุต่าง ๆ สามารถสัมผัสได้โดยไม่มีวัสดุใดครอบอยู่

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 องค์ประกอบของการสื่อสาร

1). องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ได้แก่


1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ แหล่งกำเนิดสาร อาจเป็นบุคคล องค์การ สถาบันหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้กำหนดสาระ ความรู้ ความคิด ที่จะส่งไปยังผู้รับสาร

2. สาร (Message) คือ เรื่องราว ความรู้ความคิดต่างๆ ที่ผู้ส่งประสงค์จะให้ไปถึงผู้รับ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จของการสื่อสาร 3 ประการ คือ (1) เนื้อหาของสาร (2) สัญลักษณ์หรือรหัสของสาร (3) การเลือกและจัดลำดับข่าวสาร

3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) คือ วิธีการที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับข่าวสารรับผ่านตัวกลาง (Media) ซึ่งอาจเป็นสื่ออย่างง่าย เช่น การพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง ไปจนถึงการใช้สื่อที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ

4. ผู้รับ (Receiver) คือ เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของการสื่อสารซึ่งจะต้องมีการรับรู้ เข้าใจ หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ หากไม่เป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าการสื่อสารนั้นล้มเหลว ผู้รับสารจะต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ดีเช่นเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลสมบูรณ์

5. ผล (Effect) คือ การที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่ทำ และอธิบายออกมาได้

6. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากมีการย้อนกลับ ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้ จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น


2). ให้อธิบายถึงองค์ประกอบการสื่อสารกับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้

- ผู้ส่งสาร คือ อาจารย์ผู้สอน

- สาร คือ ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา บิดาของ เทคโนโลยีการศึกษา แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา และองค์ประกอบของการสื่อสาร

- สื่อหรือช่องทาง คือ การใช้วาจาในการสอน การใช้ powerpoint , Blogger ,
e-Learning

- ผู้รับ คือ นิสิต

- ผล คือ สามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่เรียน อธิบายออกมาได้ในรูปแบบต่างๆ

- ผลย้อนกลับ คือ สามารถทำงานส่งอาจารย์และตอบคำถามที่อาจารย์ผู้สอนถามได้


วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาสมองด้วยการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก

  • นิยามความหมายของ weblog
เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก

สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://iblog.siamhrm.com/content/weblog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/



  • ประโยชน์ของเว็บบล็อก
1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น
www.terrystrek.com
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง

สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://blog.eduzones.com/help/178

  • ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย


สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://benjamas22.212cafe.com/archive/2008-11-24/innovation-innovare-change-opportunity-20-joseph-schumpeter-the-theory-of-economic-development1934-t

  • เป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา

เป้าหมายของนวัตกรรม อยู่ที่การเข้ามาแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมวิทยาและวิศวกรรม เป็นต้น
นวัตกรรมในองค์กร เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร การทำแผนธุรกิจ การวางตำแหน่งทางการตลาด การบริหารคุณภาพ การลดต้นทุน การ reengineering ระบบการบริหารต่างๆ ไม่สามารถทำให้องค์กรอยู่รอดได้ เพราะทุกการบริหาร ทุกระบบล้วนต้องพึ่งพานวัตกรรม มิฉะนั้นทุกระบบ ทุกทฤษฎีการบริหารจะย่ำอยู่กับที่ คู่แข่งคาดเดาออก สูญพันธุ์เพราะตกเป็นเหยื่อของนวัตกรรมที่ตนเองไม่ได้ทำขึ้นมา เป็นต้น ดังนั้นหลายองค์กรจึงทุ่มเททรัพยากรต่างๆ และเวลาไปกับการบริหารนวัตกรรมของตน จากการสำรวจพบว่า หลายองค์กรลงทุนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ประมาณ 4% ของยอดการลงทุนทั้งหมด (แล้วแต่ขนาดองค์กร ตำแหน่งทางการตลาด และประเภทธุรกิจ) ในการบริหารองค์กรนั้น นวัตกรรมมีขอบเขต และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ (Performance) ในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพ ผลผลิต คุณภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ตำแหน่งทางการตลาด ส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น

สืบค้นข้อมูลได้ที่ หนังสือการบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและพอเพียง หน้า 12-13 ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ คือ

วันนี้ได้เรียนรู้การสร้าง weblog ได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้การเรียนในวันนี้น่าเรียน ไม่น่าเบื่อเพราะว่ามีแต่เนื้อหา วิชานี้จึงเป็นวิชาที่ได้ทั้งความรู้และสนุกด้วย

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2553 เวลา 9.00 น.

สรุปสาระและแง่คิดจากการชมภาพยนต์ครูบ้านนอกบ้านหนองฮีใหญ่

"ความใฝ่ฝันของผมนั่นเหรอ

ผมไม่ใฝ่ฝันที่จะเป็นเพียงเรือจ้าง

ที่เขาเปรียบครูไว้เช่นนี้หรอก

ลองคิดดูซิว่า ขณะที่เรากำลังแจวเรือ

แล้วมีคนอื่นอีกมาก ใกล้จะจมน้ำตาย

แล้วเราจะไม่จอดแวะรับเขาขึ้นมาด้วยกันกับเราเหรอ

เราจะเอาเพียงเด็กนักเรียนขึ้นฝั่งเท่านั้น?

เท่านี้เหรอ สำหรับเกียรติของครู"


เรื่องย่อ ครูบ้านนอก

เรื่องเล่าที่ไม่มีวันตาย ของครูผู้มีอุดมการณ์และความปรารถนาจะเป็นยิ่งกว่า "ครู" เรื่องราวของความทรงจำอันยากจะลืมเลือนของครูบ้านนอกเกิดขึ้นเมื่อ "พิเชษฐ์" (พิเชษฐ์ กองการ) สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูพระนคร พิเชษฐ์เลือกมาบรรจุเป็นครูที่โรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่ ซึ่งอยู่ในชนบทอันห่างไกลที่มีแต่ความทุรกันดาร โดยมี "ครูใหญ่ชาลี" (หม่ำ จ๊กมก) เป็นครูสอนนักเรียนเพียงลำพังของโรงเรียน ต่อมาได้มีครูมาสมทบเพิ่มอีก 2 คนคือ "ครูสมชาติ" (อสงไขย ผาธรรม) ที่จำใจมาเป็นครูเพราะหางานทำในเมืองไม่ได้ และ "ครูแสงดาว" (ฟ้อนฟ้า ผาธรรม) ที่มาเป็นครูอยู่ที่หนองฮีใหญ่เพื่อรอจังหวะโยกย้ายเข้าไปเป็นครูในตัวเมือง ตลอดระยะเวลาที่มาเป็นครูอยู่ที่หมู่บ้านหนองฮีใหญ่ ครูพิเชษฐ์ได้อุทิศทั้งกายและใจในการพัฒนาการเรียนการสอน และชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน จนกลายเป็นที่รักของเด็กนักเรียน คุณครู และผู้คนในหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้ครูในโรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่ ทั้งครูใหญ่ชาลี, ครูสมชาติ และครูแสงดาว ได้รู้ซึ้งถึงเกียรติยศของคำว่า "ครู" แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเมื่อครูพิเชษฐ์ได้เข้าไปเปิดโปงขบวนการผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพลในท้องที่ จนถูกมือปืนตามล่า เป็นเหตุให้ครูพิเชษฐ์ต้องพักการสอนและหนีออกจากหมู่บ้านไปซ่อนตัวซักระยะ แต่ด้วยวิญญาณความเป็นครู ทำให้ครูพิเชษฐ์หวนกลับมาสอนหนังสือเด็กที่โรงเรียนอีกครั้ง จนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ทุกคนแห่งบ้านหนองฮีใหญ่จะจดจำไปอีกตราบนานเท่านาน

สาระและแง่คิดที่ได้ คือ

- ได้รู้วิถีชีวิตของคนในสมัยนั้นว่าการไม่มีเทคโนโลยีใช้เขาอยู่แบบใด

- รู้วิธีการสอนโดยไม่มีเทคโนโลยี โดยการทำแบบจำลอง,การสอนท่องกลอน ,สอนร้องเพลง เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น

- การเป็นครูในสมัยนั้น ต้องเป็นคนที่มีความกล้าหาญ เสียสละ เพราะว่าต้องเป็นผู้นำชุมชนด้วย

- ได้เห็นถึงความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชนที่ช่วยกันต่อสู้เพื่อเอาชนะพวกที่มาตัดไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพวกชาวบ้าน

-ได้เห็นถึงสภาพการเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนว่าลำบากเพียงใด

การที่ได้ชมภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้รู้ว่าการศึกษานั้นมีควมสำคัญมาก เด็กที่ไม่มีโอกาศนั้นชีวิตก็ลำบาก การที่คนเราไม่มีความยุติธรรมในสังคม ก็จะทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราควรนำครูในเรื่องนี้เป็นตัวอย่างต่อไป

สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://movie.kapook.com/view8625.html



สรุป ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ
เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

สามารถสืนค้นได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki


พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่างโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรกธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากสำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง

สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp



ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้
1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย
1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ
1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน
1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)
เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน
1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป

สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://richey.exteen.com/20080201/entry.com/20080201/entry

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่1 เปิดโลกหลักทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้า IT

วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 9.00 น.

1.ความคาดหวังจาก การมาศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีการศึกษา

-เพื่อเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิม

-เพื่อศึกษาแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย

-เพื่อฝึกการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

-เพื่อฝึกทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี


2. รู้จักอะไรที่ได้เข้าหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา เช่น การใช้ฐานข้อมูล การสืบค้น
การใช้บริการห้องสมุด พร้อม weblink

- รู้จักความเป็นมาของหอสมุด

- รู้จักวิธีการยืม คืนหนังสือ

- รู้ว่าชั้นในมีหนังสืออะไรบ้าง

- รู้วิธีในการสืบค้นข้อมูลจากเว็บหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

และเว็บของมหาวิทยาลัยบูรพา

- รู้วิธีการสืบค้นข้อมูลจาก opac

- รู้จักวิธีการเข้าใช้หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา

สามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.lib.buu.ac.th/



ความรู้สึก

จากการศึกษาอาทิตย์นี้ เป็นอาทิตย์แรก ก็ได้ไปศึกษาหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ทราบประวัติการเป็นมาของหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา การเข้าใช้หอสมุด วิธีการใช้ฐานข้อมูล Education Research Complete การสืบค้นข้อมูลจาก Web OPAC การบริการของหอสมุด การเรียนในวันนี้ทำให้ได้เห็นของจริงและปฏิบัติจริง จึงเป็นวิธีเรียนที่ไม่หน้าเบื่อ มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น