วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 องค์ประกอบของการสื่อสาร
ได้แก่
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ แหล่งกำเนิดสาร อาจเป็นบุคคล องค์การ สถาบันหรือคณะบุคคลที่เป็นผู้กำหนดสาระ ความรู้ ความคิด ที่จะส่งไปยังผู้รับสาร
2. สาร (Message) คือ เรื่องราว ความรู้ความคิดต่างๆ ที่ผู้ส่งประสงค์จะให้ไปถึงผู้รับ มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จของการสื่อสาร 3 ประการ คือ (1) เนื้อหาของสาร (2) สัญลักษณ์หรือรหัสของสาร (3) การเลือกและจัดลำดับข่าวสาร
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) คือ วิธีการที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับข่าวสารรับผ่านตัวกลาง (Media) ซึ่งอาจเป็นสื่ออย่างง่าย เช่น การพบปะพูดคุยกันตัวต่อตัว การเขียน การแสดงกิริยาท่าทาง ไปจนถึงการใช้สื่อที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
4. ผู้รับ (Receiver) คือ เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) ของการสื่อสารซึ่งจะต้องมีการรับรู้ เข้าใจ หรือแสดงพฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารต้องการ หากไม่เป็นไปตามนั้น ก็ถือว่าการสื่อสารนั้นล้มเหลว ผู้รับสารจะต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ดีเช่นเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลสมบูรณ์
5. ผล (Effect) คือ การที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่ทำ และอธิบายออกมาได้
6. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากมีการย้อนกลับ ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้ จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
2). ให้อธิบายถึงองค์ประกอบการสื่อสารกับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้
- ผู้ส่งสาร คือ อาจารย์ผู้สอน
- สาร คือ ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา บิดาของ เทคโนโลยีการศึกษา แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา และองค์ประกอบของการสื่อสาร
- สื่อหรือช่องทาง คือ การใช้วาจาในการสอน การใช้ powerpoint , Blogger ,
e-Learning
- ผู้รับ คือ นิสิต
- ผล คือ สามารถเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่เรียน อธิบายออกมาได้ในรูปแบบต่างๆ
- ผลย้อนกลับ คือ สามารถทำงานส่งอาจารย์และตอบคำถามที่อาจารย์ผู้สอนถามได้
วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาสมองด้วยการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://iblog.siamhrm.com/content/weblog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/
- ประโยชน์ของเว็บบล็อก
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น www.terrystrek.com
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว - สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://blog.eduzones.com/help/178
- ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://benjamas22.212cafe.com/archive/2008-11-24/innovation-innovare-change-opportunity-20-joseph-schumpeter-the-theory-of-economic-development1934-t
- เป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา
เป้าหมายของนวัตกรรม อยู่ที่การเข้ามาแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมวิทยาและวิศวกรรม เป็นต้น
นวัตกรรมในองค์กร เป็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายขององค์กร การทำแผนธุรกิจ การวางตำแหน่งทางการตลาด การบริหารคุณภาพ การลดต้นทุน การ reengineering ระบบการบริหารต่างๆ ไม่สามารถทำให้องค์กรอยู่รอดได้ เพราะทุกการบริหาร ทุกระบบล้วนต้องพึ่งพานวัตกรรม มิฉะนั้นทุกระบบ ทุกทฤษฎีการบริหารจะย่ำอยู่กับที่ คู่แข่งคาดเดาออก สูญพันธุ์เพราะตกเป็นเหยื่อของนวัตกรรมที่ตนเองไม่ได้ทำขึ้นมา เป็นต้น ดังนั้นหลายองค์กรจึงทุ่มเททรัพยากรต่างๆ และเวลาไปกับการบริหารนวัตกรรมของตน จากการสำรวจพบว่า หลายองค์กรลงทุนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ประมาณ 4% ของยอดการลงทุนทั้งหมด (แล้วแต่ขนาดองค์กร ตำแหน่งทางการตลาด และประเภทธุรกิจ) ในการบริหารองค์กรนั้น นวัตกรรมมีขอบเขต และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ (Performance) ในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพ ผลผลิต คุณภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ตำแหน่งทางการตลาด ส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น
สืบค้นข้อมูลได้ที่ หนังสือการบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและพอเพียง หน้า 12-13 ผู้แต่ง ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ คือ
วันนี้ได้เรียนรู้การสร้าง weblog ได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำให้การเรียนในวันนี้น่าเรียน ไม่น่าเบื่อเพราะว่ามีแต่เนื้อหา วิชานี้จึงเป็นวิชาที่ได้ทั้งความรู้และสนุกด้วย
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา
สรุปสาระและแง่คิดจากการชมภาพยนต์ครูบ้านนอกบ้านหนองฮีใหญ่
"ความใฝ่ฝันของผมนั่นเหรอ
ผมไม่ใฝ่ฝันที่จะเป็นเพียงเรือจ้าง
ที่เขาเปรียบครูไว้เช่นนี้หรอก
ลองคิดดูซิว่า ขณะที่เรากำลังแจวเรือ
แล้วมีคนอื่นอีกมาก ใกล้จะจมน้ำตาย
แล้วเราจะไม่จอดแวะรับเขาขึ้นมาด้วยกันกับเราเหรอ
เราจะเอาเพียงเด็กนักเรียนขึ้นฝั่งเท่านั้น?
เท่านี้เหรอ สำหรับเกียรติของครู"
เรื่องย่อ ครูบ้านนอก
เรื่องเล่าที่ไม่มีวันตาย ของครูผู้มีอุดมการณ์และความปรารถนาจะเป็นยิ่งกว่า "ครู" เรื่องราวของความทรงจำอันยากจะลืมเลือนของครูบ้านนอกเกิดขึ้นเมื่อ "พิเชษฐ์" (พิเชษฐ์ กองการ) สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูพระนคร พิเชษฐ์เลือกมาบรรจุเป็นครูที่โรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่ ซึ่งอยู่ในชนบทอันห่างไกลที่มีแต่ความทุรกันดาร โดยมี "ครูใหญ่ชาลี" (หม่ำ จ๊กมก) เป็นครูสอนนักเรียนเพียงลำพังของโรงเรียน ต่อมาได้มีครูมาสมทบเพิ่มอีก 2 คนคือ "ครูสมชาติ" (อสงไขย ผาธรรม) ที่จำใจมาเป็นครูเพราะหางานทำในเมืองไม่ได้ และ "ครูแสงดาว" (ฟ้อนฟ้า ผาธรรม) ที่มาเป็นครูอยู่ที่หนองฮีใหญ่เพื่อรอจังหวะโยกย้ายเข้าไปเป็นครูในตัวเมือง ตลอดระยะเวลาที่มาเป็นครูอยู่ที่หมู่บ้านหนองฮีใหญ่ ครูพิเชษฐ์ได้อุทิศทั้งกายและใจในการพัฒนาการเรียนการสอน และชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน จนกลายเป็นที่รักของเด็กนักเรียน คุณครู และผู้คนในหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้ครูในโรงเรียนบ้านหนองฮีใหญ่ ทั้งครูใหญ่ชาลี, ครูสมชาติ และครูแสงดาว ได้รู้ซึ้งถึงเกียรติยศของคำว่า "ครู" แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเมื่อครูพิเชษฐ์ได้เข้าไปเปิดโปงขบวนการผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพลในท้องที่ จนถูกมือปืนตามล่า เป็นเหตุให้ครูพิเชษฐ์ต้องพักการสอนและหนีออกจากหมู่บ้านไปซ่อนตัวซักระยะ แต่ด้วยวิญญาณความเป็นครู ทำให้ครูพิเชษฐ์หวนกลับมาสอนหนังสือเด็กที่โรงเรียนอีกครั้ง จนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ทุกคนแห่งบ้านหนองฮีใหญ่จะจดจำไปอีกตราบนานเท่านาน
สาระและแง่คิดที่ได้ คือ
- ได้รู้วิถีชีวิตของคนในสมัยนั้นว่าการไม่มีเทคโนโลยีใช้เขาอยู่แบบใด- รู้วิธีการสอนโดยไม่มีเทคโนโลยี โดยการทำแบบจำลอง,การสอนท่องกลอน ,สอนร้องเพลง เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น
- การเป็นครูในสมัยนั้น ต้องเป็นคนที่มีความกล้าหาญ เสียสละ เพราะว่าต้องเป็นผู้นำชุมชนด้วย
- ได้เห็นถึงความรัก ความสามัคคี ของคนในชุมชนที่ช่วยกันต่อสู้เพื่อเอาชนะพวกที่มาตัดไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพวกชาวบ้าน
-ได้เห็นถึงสภาพการเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนว่าลำบากเพียงใด
การที่ได้ชมภาพยนต์เรื่องนี้ทำให้รู้ว่าการศึกษานั้นมีควมสำคัญมาก เด็กที่ไม่มีโอกาศนั้นชีวิตก็ลำบาก การที่คนเราไม่มีความยุติธรรมในสังคม ก็จะทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราควรนำครูในเรื่องนี้เป็นตัวอย่างต่อไป
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://movie.kapook.com/view8625.html
สรุป ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน
เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้
สามารถสืนค้นได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki
พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่างโจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรกธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมากสำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้
1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน
1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน
1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน
1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย
1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ
1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์
1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน
1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ
1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)
เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน
1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน
1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน
1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป
สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://richey.exteen.com/20080201/entry.com/20080201/entry
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553
กิจกรรมสัปดาห์ที่1 เปิดโลกหลักทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้า IT
1.ความคาดหวังจาก การมาศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีการศึกษา
-เพื่อเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นกว่าเดิม
-เพื่อศึกษาแบบการเรียนการสอนที่ทันสมัย
-เพื่อฝึกการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
-เพื่อฝึกทักษะในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี
2. รู้จักอะไรที่ได้เข้าหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา เช่น การใช้ฐานข้อมูล การสืบค้น
การใช้บริการห้องสมุด พร้อม weblink
- รู้จักความเป็นมาของหอสมุด
- รู้จักวิธีการยืม คืนหนังสือ
- รู้ว่าชั้นในมีหนังสืออะไรบ้าง
- รู้วิธีในการสืบค้นข้อมูลจากเว็บหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
และเว็บของมหาวิทยาลัยบูรพา
- รู้วิธีการสืบค้นข้อมูลจาก opac
- รู้จักวิธีการเข้าใช้หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
สามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.lib.buu.ac.th/
ความรู้สึก
จากการศึกษาอาทิตย์นี้ เป็นอาทิตย์แรก ก็ได้ไปศึกษาหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ทราบประวัติการเป็นมาของหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา การเข้าใช้หอสมุด วิธีการใช้ฐานข้อมูล Education Research Complete การสืบค้นข้อมูลจาก Web OPAC การบริการของหอสมุด การเรียนในวันนี้ทำให้ได้เห็นของจริงและปฏิบัติจริง จึงเป็นวิธีเรียนที่ไม่หน้าเบื่อ มีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น