วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 15 ปิดคอร์ส นำเสนอผลงานวีดิทัศน์, สรุปบทเรียน, แนะแนวสอบปลายภาค

วันที่ 13 กันยายน 2553
นำเสนอสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง e-learning
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในเทอมนี้
วิชานี้เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีวิธีการสอนและสื่อการสอนดี ข้าพเจ้าชอบการเรียนแบบนี้ เพราะมีทั้งการเรียนในสถานที่จริง ได้ปฏิบัติจริง เช่นในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยได้ทำมาก่อนแล้วได้ทำ ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้วิธีการทำงานร่วมกับเพื่อน และรู้ว่าจะทำงานอะไรนั้นต้องมีความพยายามและความอดทนงานนั้นถึงจะสำเร็จ งานชิ้นนี้เป็นความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าและเพื่อนเป็นอย่างมากเพราะได้มาด้วยความยากลำบากและการทำงานชิ้นนี้ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น

ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ช่วยสอนให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 14 เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 6 กันยายน 2553
คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา




แนวคิด
คุณธรรม (Virtue) คือ ความประพฤติดีจนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่งคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี ได้แก่
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็
จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น เช่น คุณธรรมแห่งความยุติธรรม
ความกล้าหาญในการตัดสินใจ ความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ความเมตตากรุณา เป็นต้น

จริยธรรม (Ethics) คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเองก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)
1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทำให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจาก
นามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คำปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม

คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านบุคลิกภาพ(คุณลักษณะส่วนตัว)
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-มีความคิดสร้างสรรค์
-มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
-เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
-รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. ด้านความรู้(คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)
-มีความรู้สามารถให้คำแนะนำ, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้
-มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
-สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
-สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
-รู้จักวางแผนและวางระบบการทำงาน
-รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ

นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องมีความสามารถ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
2. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ใฝ่รู้ตลอดเวลา
3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ
4. มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
5. มีความเป็นผู้นำในการใช้ช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
6. มีความอดทน วิริยะอุตสาหะ พากเพียรในการทำงานเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้
7. มีใจรักในการงาน และมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
8. การเปิดใจรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และฟังเหตุผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือช่องทางที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้
9. ทำงานด้วยความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในปัจจุบัน
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานในสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่สามารถประกอบอาชีพอิสระทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ต้องมีเครือข่ายในการเรียนรู้

7 บุคลิกภาพพื้นฐานของนักเทคโนโลยีการศึกษาไทย
1. การมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลนได้ ฉะนั้น เมื่อเราจะมองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดหรือรู้สึกติดลบได้
2. การแต่งกาย การแต่งกายบ่งบอกความพิถีพิถันและเอาใจใส่ตัวเอง ช่วยทำให้คนคนหนึ่งดูดีหรือดูแย่ได้ ทุกครั้งที่เลือกเครื่องแต่งกายหรือกำลังจะแต่งกาย ให้ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
3. การพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ มีน้ำเสียงชวนฟัง เสียงดังฟังชัด ฉะฉาน และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง ทั้งยังต้องคำนึงถึงสถานที่ เวลา และโอกาสด้วย
4. การเดิน ให้เดินตัวตรง อกผายไหล่ผึ่งเพื่อให้ดูสง่า แต่ไม่ต้องถึงกับหลังตรงตัวแข็งเหมือนนักเรียนนายร้อย เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย เวลาเดินให้ก้าวเท้ายาวพอประมาณ และสอดคล้องกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่ ว่าก้าแค่ไหนจึงดูคล่องแคล่วและปลอดภัย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป เพราะเสียงฝีเท้าจะไปรบกวนผู้อื่น ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ ท่าทางที่ดีจะต้องมาจากพื้นฐานของความสงบ สำรวม ให้เกียรติทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ควรมีท่าทางประกอบเพื่อให้ดูผ่อนคลาย เป็นธรรมชาติ สง่า และเสริมในสิ่งที่พูดหรือเล่า นอกเหนือจากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีท่าทางประกอบแต่อย่างใด
6. ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใดๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่าให้น้อยไปกว่าความสามารถที่เรามีหรือทำได้ ความน่าชื่นใจของผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างานทุกคนก็คือ การมีเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องที่ทำงาน "เต็มความสามารถ" อยู่ตลอดเวลา นั่นคือบุคลิกแห่งความสำเร็จด้วยค่ะ
7. สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่ป่วยออดๆ แอดๆ จะดูเป็นคนขี้โรค ซึ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าน่าชื่นชม ดูอ่อนแอ ไม่คล่องแคล่ว โรคบางรคส่งผลถึงความซีดเซียว ห่อเหี่ยว หม่นหมอง จึงขาดสง่าราศี การดูแลสุขภาพให้ดีคือต้นทุนของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญที่สุด

-----------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่13 นำเสนองานโดยโปรแกรม Mindjet MindManager

วันที่ 30 สิงหาคม 2553
นำเสนองาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้โปรแกรม Mindjet MindManager

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้

วันที่ 23 สิงหาคม 2553

สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1.สภาพการเรียนการสอนในระบบ
การเรียนการสอนในระบบ (formal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน
2.สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
การสอนนอกระบบ (informal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือ การเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
3.สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การเรียนการสอนตามอัธยาศัย ( nonformal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการเรียนการสอนนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา
2.เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และได้มีการคาดเดาว่าในอนาคตจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งทางศูนย์คอมพิวเตอร์ก็ได้มีการผลิตโปรแกรมทางการศึกษาออกมาไว้ให้บริการตลอดเวลาหรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียวหรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้
M-Learning คือ การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายและเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Ubiquitous Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูปที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สาย
Hybrid Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียนกับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุดของทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
Adaptive Learning คือ การเรียนรู้ด้วยการปรับตัวเป็นรูปแบบ วิธีการเรียนรู้ที่เน้นความสามารถในการเรียนรู้วึ่งขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาหรือประสบการณ์ของผู้เรียน
Video on Demand คือ ระบบการเรียกดูวีดิทัศน์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูวีดิทัศน์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ
สถานีวิทยุออนไลน์ คือ การให้บริการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
ได้มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้น