วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 ศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วันที่ 28 มิถุนายน 2553

จากการที่ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

- ทำให้ทราบถึงการแบ่งสื่อการเรียนการสอน ตามประสบการณ์ของ เดล ซึ่งเราก็ได้แบ่งสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็น ดังนี้

ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วมกันทำกิจกรรมหลังดูงานจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นต้น




ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัดที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของปลาโลมา เต่า และสัตว์ชนิดอื่นอีก และการใช้ ของตัวอย่าง (Specimen) เช่น กระดูกปลาวาฬ ฟันปลาฉลาม เป็นต้น


ขั้นที่ 3 การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้ เช่น การสาธิตการให้อาหารปลา การฟังบรรยายจากวิทยากร




ขั้นที่ 4 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น การได้ไปศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


ขั้นที่ 5 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิตและการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ เช่น ป้ายข้อมูลสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ป้ายการเเนะนำสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

ขั้นที่ 6 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ


ขั้นที่ 7 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ในการเลือกนำไปใช้ สื่อที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ แผนภูมิต้นไม้ ห่วงโซ่อาหาร แผนที่แสดงที่ตั้งของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น


ขั้นที่ 8 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด เช่น ป้ายทางเข้า-ออก ป้ายทางหนีไฟ ป้ายห้องน้ำชาย-หญิง


- ทำให้ทราบถึงการนำงานประเภทกราฟิกมาใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพของปลาชนิดต่างๆ และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆอีก ตัวหนังสือที่เป็นข้อมูลของสัตว์น้ำ และสัญลักษณ์ เป็นต้น

2. สื่อวัสดุกราฟิกประเภท 3 มิติ รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาวส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่โดยธรรมชาติ เช่น

- หุ่นจำลองของสัตว์น้ำ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้

- ของจริงที่เราได้ยิน ได้เห็น สิ่งเร้าต่าง ๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง

- ป้านนิเทศต่างๆ ที่ใช้แสดงเรื่องราว เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนการสอน

- ตู้อันตรทัศน์ที่แสดงฉากใต้ทะเล เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติ เรียนแบบธรรมชาติกระตุ้นความสนใจมีลักษณะเป็นฉาก มีความลึกคล้ายกับของจริง โดยมีกล่องพลาสติก หรือกระจก หรือแผ่นอคิริกใส ครอบอยู่


- กระบะทราย ที่แสดงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต เป็นทัศนวัสดุ 3 มิติที่นำเสนอเรื่องราวจำลองคล้ายของจริงบนพื้นทรายและมีวัสดุต่าง ๆ สามารถสัมผัสได้โดยไม่มีวัสดุใดครอบอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น