วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 10 แนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับบริการที่ทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ต้องยึดถือในกรอบความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
-หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
-ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นนักออกแบบและจัดการการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ การออกแบบระบบการเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเป็นภารกิจหลักของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดความท้าทายจากวิทยาการที่เปลี่ยนไป
2. ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาสมัยใหม่

ลักษณะการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาจากแหล่งอื่นในสภาพการณ์ต่างที่ต่างกัน เพื่อมาทดลองในที่ใหม่ สภาพการณ์ใหม่
2. เป็นการวิจัยที่ดัดแปลง ขยายหรือเสริมแต่งความคิดและวิธีการเดิม
แล้วนำมาทดลอง เพื่อดูว่าใช้ได้ผลในขณะนี้หรือไม่ เพียงใด?
3. เป็นการวิจัยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่เคยทำไว้ก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
4. เป็นการวิจัยที่มีสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งในอดีตไม่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย
5. เป็นการวิจัยในสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่

ลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย
1.เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
3.ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
4.สร้างสมมติฐาน
5.พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล
6.สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย
7.การเก็บรวบรวมข้อมูล
8.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
9.ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป
10.การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์

การเปลี่ยนแปลงและทิศทางของการศึกษา
แนวคิดด้านการศึกษาที่ทำให้เกิดทิศทางและแนวโน้มของการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามวิวัฒนาการและการปฏิวัติทางความรู้ (Knowledge Revolution) ทำให้กระบวนทัศน์การเรียนรู้และสถาบันการศึกษาเปลี่ยนไป จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และสถาบันการศึกษา

ผลการศึกษาประเด็นของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
ผลจากการปฏิรูปการศึกษาในอดีตทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะรับผลของการปฏิรูปการศึกษา มีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารและการจัดการทางการศึกษา การจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตามข้อบังคับของกฎหมาย การเรียน
การสอน การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจ การใช้งบประมาณ และความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น ระบบมัลติมีเดีย, Web-based Learning, E-learning และ Virtual Classroom ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศมาใช้ ทั้งระบบที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายนำสัญญาณ และแบบไม่มีสาย หรือ Handheld and Wireless Technology

2. การวิจัยด้านการออกแบบการสอน หรือ Instructional Design ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของการเรียนที่เปลี่ยนแปลง เช่น การออกแบบการสอนแบบต่าง ๆ การใช้ยุทธวิธีการสอน การฝึกทักษะ และการใช้ Presentation Technologies

3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา เช่นการสอนและการสอบผ่านเครือข่าย Internet การสร้างบทเรียนและเรียนบนเครือข่าย Internetรวมทั้งระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่นระบบ Transaction Processing System, Management Information System, Decision Support System เป็นต้น

4. ด้านการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หรือ Leadership in Technology และการสนับสนุนเงินทุนทางด้านการใช้เทคโนโลยี หรือ Funding for Technology

แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาของต่างประเทศ
1. การควบคุมผู้เรียน
2. ยุทธศาสตร์การสอน
3. จิตวิทยาและเทคโนโลยีการศึกษา
4. การปฏิสัมพันธ์
5. งบประมาณและความคุ้มค่า
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ทฤษฎีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยี
8. รูปแบบการเรียนรู้
9. การนำมาใช้และเผยแพร่
10. การสร้างทฤษฎี และการพัฒนาการเรียนการสอน
11. องค์ประกอบที่มีผลในการออกแบบการเรียนรู้
12. ผลของเทคโนโลยีต่อสังคม

ทิศทางและแนวโน้มหรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (ในประเทศไทย) 1.จะมีการทดลองใช้เทคโนโลยี www. เพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการหลักสูตรมากขึ้น และผลการวิจัยจะมีการแสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการเรียนการสอนและลดข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี เป็นการเตรียมเข้าสู่ยุค E-Learning อย่างเต็มที่

2. จะมีการออกแบบระบบสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่ทำงาน เด็ก ผู้พิการ ผู้ต้องขังและผู้สูงอายุ

3. จะมีการนำเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมาใช้กับการศึกษาแบบเคลื่อนที่ (M-learning, U-learning) เช่น Mobile Phone (โทรศัพท์มือถือ) PDA และ Wi-Fi Technology สำหรับ Internet

4. จะมีการรับรองมาตรฐานของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นโดยมีกระบวนการและวิธีการรับรองมาตรฐานที่แตกต่างไปจากการรับรองมาตรฐานการผลิตผู้จบการศึกษาที่เป็นอยู่

5. จะมีการออกแบบโปรแกรมใหม่ ๆ นวัตกรรมการสอน และมีวิธีการสอนใหม่ๆ เกิดขึ้นตามศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น

6. จะมีการจัดกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะของการเรียนการสอนที่ดีและสิ่งแวดล้อมการเรียนที่ดีซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมสำคัญของการเรียน(การออกแบบ

7. จะมีการขยายขอบข่ายของการเรียนการสอนไปได้ไกลขึ้น เริ่มคิดถึงภาพรวมทั้งโลกมากกว่าระดับชุมชนหรือระดับชาติเท่านั้น สถานศึกษาจะมีวิทยาเขตได้ทุกแห่งในโลกที่มี Internet ไปถึง มีการเข้าสู่การเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ

สรุป
การวิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบในการแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งยืนอยู่บนกรอบแนวคิดในศาสตร์และขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยเพื่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษาซึ่งก็คือ

นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น