วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 11 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


วันที่ 16 สิงหาคม 2553

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
- พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
- พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

สิทธิผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา
- ความรู้ความสารถในการอบรมเลี้ยงดู
- เงินดุดหนุน
- การหลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15-21
- การศึกษาในระบบ
- การศึกษาตามอัธยาศัย
- การศึกษานอกระบบ

การศึกษาในระบบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ไม่น้อยกว่า 12 ปี
-ระดับและประเภทเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
-ระดับต่ำกว่าปริญญา
-ระดับปริญญา

การศึกษานอกระบบ
การศึกษาภาคบังคับ
-9ปี
-ย่างปีที่ 7 ถึงย่างปีที่ 16 ยกเว้นสอบได้ปีที่ 9
-การนับอายุ เป็นไปตามกฎกระทรวง
สถานพัฒนาปฐมวัย
-ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ..
-สถานพัฒนาเด้กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่นโรงเรียน
-โรงเรียนของรัฐ เอกชน
-โรงเรียนสังกัดสถาบันพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นศูนย์การรียน
-สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ...เป็นปชผู้จัด

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 22-30
ผู้เรียน
-ทุกคนมีความสามารถ
-พัฒนาตนเองได้
-มีความสำคัญที่สุด

หลักสูตรแกนกลาง โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นฐาน
-ความเป็นพลเมืองดี
-เพื่อความเป็นไทย
-การดำรงชีวิต การประกอบอาชี การศึกษาต่อ
-หลักสูตรแกนกลาง

หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษามาตรา 33-46
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐกระทรวงมีอำนาจหน้าที่
-ส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ
-กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐาน
-สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
-ส่งเสริม ประสานงานการศาสนา สิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา
-ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 2การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อปท
-จัดการศึกษาได้ทุกระดับ
-ความพร้อมและความต้องการของท้องถิ่น
-กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน
-มีความเป็นอิสระ
-กำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานจากรัฐ
-เป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหาร
-รัฐสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์อื่น

หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
ประกันคุณภาพภายใน
-เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร
-รายงานต่อต้นสังกัด
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ประกันคุณภาพภายนอก
-โดยสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)
-อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี
ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกููล
จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
-จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล รัฐและเอกชนเท่าเทียมกัน
-จัดสรรทุนการศึกษา ในรูปกองทุนกู้ยืม จากครอบครัวผู้ีรายได้น้อย
-จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
หน้าที่ของรัฐ
-รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้
-ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์
-ส่งเสริมและสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
-พัฒนาบุคลากรด้านผู้ผลิต และผู้ใช้
-ส่เสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์
-ทำซ้ำหรือดัดแปลง
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บทกำหนดโทษ
ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
      พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้า
การบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
- ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)
- การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)
- การรับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)
- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์
หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
- การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
- การรบกวนระบบ (มาตรา 10)
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
- การดักข้อมูล (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
- สแปมเมล์ (มาตรา 11)
- การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ(มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ
-อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น
-อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
-อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
-อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
-การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น