วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 15 ปิดคอร์ส นำเสนอผลงานวีดิทัศน์, สรุปบทเรียน, แนะแนวสอบปลายภาค

วันที่ 13 กันยายน 2553
นำเสนอสื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่อง e-learning
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในเทอมนี้
วิชานี้เป็นวิชาที่ข้าพเจ้าคิดว่ามีวิธีการสอนและสื่อการสอนดี ข้าพเจ้าชอบการเรียนแบบนี้ เพราะมีทั้งการเรียนในสถานที่จริง ได้ปฏิบัติจริง เช่นในการสร้างสื่อวิดีทัศน์ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยได้ทำมาก่อนแล้วได้ทำ ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้วิธีการทำงานร่วมกับเพื่อน และรู้ว่าจะทำงานอะไรนั้นต้องมีความพยายามและความอดทนงานนั้นถึงจะสำเร็จ งานชิ้นนี้เป็นความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าและเพื่อนเป็นอย่างมากเพราะได้มาด้วยความยากลำบากและการทำงานชิ้นนี้ทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น

ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ช่วยสอนให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้และประสบการณ์มากขึ้น

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 14 เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 6 กันยายน 2553
คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา




แนวคิด
คุณธรรม (Virtue) คือ ความประพฤติดีจนเคยชินในด้านใดด้านหนึ่งคุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี ได้แก่
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็
จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น เช่น คุณธรรมแห่งความยุติธรรม
ความกล้าหาญในการตัดสินใจ ความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ความเมตตากรุณา เป็นต้น

จริยธรรม (Ethics) คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเองก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม

ศีลธรรม (Moral)
1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. หาวิธี ที่ทำให้คนเกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเป็นตัวกลาง
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และเป็นไปอย่างมีระบบโดยแปลงเนื้อหาจาก
นามธรรมให้เป็นรูปธรรม

บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านการผลิต
2. ด้านการออกแบบพัฒนา
3. ด้านการเลือกและการใช้
4. ด้านการบริการและให้คำปรึกษา
5. ด้านการบริหาร
6. ด้านการวิจัย

แนวโน้มบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นนักพัฒนาการสอน
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ในการวิจัย
3. มีความสามารถในการบริหาร
4. เป็นผู้ให้บริการ
5. เป็นผู้ให้การฝึกอบรม
6. เป็นผู้ส่งเสริมการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม

คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา
1. ด้านบุคลิกภาพ(คุณลักษณะส่วนตัว)
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-มีความคิดสร้างสรรค์
-มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน
-เป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
-รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
-รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. ด้านความรู้(คุณลักษณะทางด้านวิชาชีพ)
-มีความรู้สามารถให้คำแนะนำ, ปรึกษาด้านเทคโนโลยีได้
-มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษา
-สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ได้
-สามารถออกแบบ และผลิตสื่อการสอนได้
-รู้จักวางแผนและวางระบบการทำงาน
-รู้จักหลักการบริหารคน เงิน วัสดุ

นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องมีความสามารถ
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
2. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา ใฝ่รู้ตลอดเวลา
3. มีความสามารถในการบริหารจัดการ
4. มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
5. มีความเป็นผู้นำในการใช้ช่องทางในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
6. มีความอดทน วิริยะอุตสาหะ พากเพียรในการทำงานเพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้
7. มีใจรักในการงาน และมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
8. การเปิดใจรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ และฟังเหตุผลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือช่องทางที่ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้
9. ทำงานด้วยความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในปัจจุบัน
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานในสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่สามารถประกอบอาชีพอิสระทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบ
• นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ต้องมีเครือข่ายในการเรียนรู้

7 บุคลิกภาพพื้นฐานของนักเทคโนโลยีการศึกษาไทย
1. การมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลนได้ ฉะนั้น เมื่อเราจะมองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดหรือรู้สึกติดลบได้
2. การแต่งกาย การแต่งกายบ่งบอกความพิถีพิถันและเอาใจใส่ตัวเอง ช่วยทำให้คนคนหนึ่งดูดีหรือดูแย่ได้ ทุกครั้งที่เลือกเครื่องแต่งกายหรือกำลังจะแต่งกาย ให้ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
3. การพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ มีน้ำเสียงชวนฟัง เสียงดังฟังชัด ฉะฉาน และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง ทั้งยังต้องคำนึงถึงสถานที่ เวลา และโอกาสด้วย
4. การเดิน ให้เดินตัวตรง อกผายไหล่ผึ่งเพื่อให้ดูสง่า แต่ไม่ต้องถึงกับหลังตรงตัวแข็งเหมือนนักเรียนนายร้อย เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย เวลาเดินให้ก้าวเท้ายาวพอประมาณ และสอดคล้องกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่ ว่าก้าแค่ไหนจึงดูคล่องแคล่วและปลอดภัย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป เพราะเสียงฝีเท้าจะไปรบกวนผู้อื่น ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ ท่าทางที่ดีจะต้องมาจากพื้นฐานของความสงบ สำรวม ให้เกียรติทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ควรมีท่าทางประกอบเพื่อให้ดูผ่อนคลาย เป็นธรรมชาติ สง่า และเสริมในสิ่งที่พูดหรือเล่า นอกเหนือจากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีท่าทางประกอบแต่อย่างใด
6. ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใดๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่าให้น้อยไปกว่าความสามารถที่เรามีหรือทำได้ ความน่าชื่นใจของผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างานทุกคนก็คือ การมีเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องที่ทำงาน "เต็มความสามารถ" อยู่ตลอดเวลา นั่นคือบุคลิกแห่งความสำเร็จด้วยค่ะ
7. สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่ป่วยออดๆ แอดๆ จะดูเป็นคนขี้โรค ซึ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าน่าชื่นชม ดูอ่อนแอ ไม่คล่องแคล่ว โรคบางรคส่งผลถึงความซีดเซียว ห่อเหี่ยว หม่นหมอง จึงขาดสง่าราศี การดูแลสุขภาพให้ดีคือต้นทุนของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญที่สุด

-----------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่13 นำเสนองานโดยโปรแกรม Mindjet MindManager

วันที่ 30 สิงหาคม 2553
นำเสนองาน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้โปรแกรม Mindjet MindManager

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้

วันที่ 23 สิงหาคม 2553

สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1.สภาพการเรียนการสอนในระบบ
การเรียนการสอนในระบบ (formal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจน
2.สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
การสอนนอกระบบ (informal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือ การเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
3.สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การเรียนการสอนตามอัธยาศัย ( nonformal education) คือ การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการเรียนการสอนนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา
2.เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และได้มีการคาดเดาว่าในอนาคตจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งทางศูนย์คอมพิวเตอร์ก็ได้มีการผลิตโปรแกรมทางการศึกษาออกมาไว้ให้บริการตลอดเวลาหรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียวหรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้
M-Learning คือ การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายและเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Ubiquitous Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูปที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สาย
Hybrid Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียนกับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุดของทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
Adaptive Learning คือ การเรียนรู้ด้วยการปรับตัวเป็นรูปแบบ วิธีการเรียนรู้ที่เน้นความสามารถในการเรียนรู้วึ่งขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาหรือประสบการณ์ของผู้เรียน
Video on Demand คือ ระบบการเรียกดูวีดิทัศน์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูวีดิทัศน์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ
สถานีวิทยุออนไลน์ คือ การให้บริการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
ได้มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเครื่องมือใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆเพิ่มขึ้น

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 11 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


วันที่ 16 สิงหาคม 2553

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
- พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
- พรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

สิทธิผู้สนับสนุนการจัดการศึกษา
- ความรู้ความสารถในการอบรมเลี้ยงดู
- เงินดุดหนุน
- การหลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15-21
- การศึกษาในระบบ
- การศึกษาตามอัธยาศัย
- การศึกษานอกระบบ

การศึกษาในระบบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ไม่น้อยกว่า 12 ปี
-ระดับและประเภทเป็นไปตามกฎหมายกำหนด
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
-ระดับต่ำกว่าปริญญา
-ระดับปริญญา

การศึกษานอกระบบ
การศึกษาภาคบังคับ
-9ปี
-ย่างปีที่ 7 ถึงย่างปีที่ 16 ยกเว้นสอบได้ปีที่ 9
-การนับอายุ เป็นไปตามกฎกระทรวง
สถานพัฒนาปฐมวัย
-ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ..
-สถานพัฒนาเด้กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่นโรงเรียน
-โรงเรียนของรัฐ เอกชน
-โรงเรียนสังกัดสถาบันพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นศูนย์การรียน
-สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ...เป็นปชผู้จัด

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษามาตรา 22-30
ผู้เรียน
-ทุกคนมีความสามารถ
-พัฒนาตนเองได้
-มีความสำคัญที่สุด

หลักสูตรแกนกลาง โดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นฐาน
-ความเป็นพลเมืองดี
-เพื่อความเป็นไทย
-การดำรงชีวิต การประกอบอาชี การศึกษาต่อ
-หลักสูตรแกนกลาง

หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษามาตรา 33-46
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐกระทรวงมีอำนาจหน้าที่
-ส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ
-กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐาน
-สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
-ส่งเสริม ประสานงานการศาสนา สิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา
-ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 2การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อปท
-จัดการศึกษาได้ทุกระดับ
-ความพร้อมและความต้องการของท้องถิ่น
-กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน
-มีความเป็นอิสระ
-กำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานจากรัฐ
-เป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการบริหาร
-รัฐสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์อื่น

หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
ประกันคุณภาพภายใน
-เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร
-รายงานต่อต้นสังกัด
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ประกันคุณภาพภายนอก
-โดยสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ)
-อย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี
ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกููล
จัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
-จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล รัฐและเอกชนเท่าเทียมกัน
-จัดสรรทุนการศึกษา ในรูปกองทุนกู้ยืม จากครอบครัวผู้ีรายได้น้อย
-จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษ

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
หน้าที่ของรัฐ
-รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนา และการใช้
-ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
-จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์
-ส่งเสริมและสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
-พัฒนาบุคลากรด้านผู้ผลิต และผู้ใช้
-ส่เสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
-พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
-พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
-พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์
-ทำซ้ำหรือดัดแปลง
-เผยแพร่ต่อสาธารณชน
-ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บทกำหนดโทษ
ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
      พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้า
การบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
- ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)
- การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)
- การรับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)
- การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์
หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว

ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
- การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
- การรบกวนระบบ (มาตรา 10)
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
- การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
- การดักข้อมูล (มาตรา 8)
- การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
- สแปมเมล์ (มาตรา 11)
- การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
- การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ(มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ
-อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น
-อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
-อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
-อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
-การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 10 แนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพื่อการพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับบริการที่ทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้

การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ต้องยึดถือในกรอบความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
-หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
-ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เป็นนักออกแบบและจัดการการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ การออกแบบระบบการเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเป็นภารกิจหลักของนักเทคโนโลยีทางการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดความท้าทายจากวิทยาการที่เปลี่ยนไป
2. ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาสมัยใหม่

ลักษณะการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาจากแหล่งอื่นในสภาพการณ์ต่างที่ต่างกัน เพื่อมาทดลองในที่ใหม่ สภาพการณ์ใหม่
2. เป็นการวิจัยที่ดัดแปลง ขยายหรือเสริมแต่งความคิดและวิธีการเดิม
แล้วนำมาทดลอง เพื่อดูว่าใช้ได้ผลในขณะนี้หรือไม่ เพียงใด?
3. เป็นการวิจัยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่เคยทำไว้ก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
4. เป็นการวิจัยที่มีสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งในอดีตไม่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย
5. เป็นการวิจัยในสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่

ลำดับขั้นในการดำเนินการวิจัย
1.เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
2.ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
3.ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย
4.สร้างสมมติฐาน
5.พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล
6.สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย
7.การเก็บรวบรวมข้อมูล
8.การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
9.ตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป
10.การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์

การเปลี่ยนแปลงและทิศทางของการศึกษา
แนวคิดด้านการศึกษาที่ทำให้เกิดทิศทางและแนวโน้มของการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามวิวัฒนาการและการปฏิวัติทางความรู้ (Knowledge Revolution) ทำให้กระบวนทัศน์การเรียนรู้และสถาบันการศึกษาเปลี่ยนไป จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และสถาบันการศึกษา

ผลการศึกษาประเด็นของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
ผลจากการปฏิรูปการศึกษาในอดีตทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะรับผลของการปฏิรูปการศึกษา มีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารและการจัดการทางการศึกษา การจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตามข้อบังคับของกฎหมาย การเรียน
การสอน การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจ การใช้งบประมาณ และความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบุคลากรการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น ระบบมัลติมีเดีย, Web-based Learning, E-learning และ Virtual Classroom ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศมาใช้ ทั้งระบบที่มีการเชื่อมต่อด้วยสายนำสัญญาณ และแบบไม่มีสาย หรือ Handheld and Wireless Technology

2. การวิจัยด้านการออกแบบการสอน หรือ Instructional Design ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของการเรียนที่เปลี่ยนแปลง เช่น การออกแบบการสอนแบบต่าง ๆ การใช้ยุทธวิธีการสอน การฝึกทักษะ และการใช้ Presentation Technologies

3. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา เช่นการสอนและการสอบผ่านเครือข่าย Internet การสร้างบทเรียนและเรียนบนเครือข่าย Internetรวมทั้งระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่นระบบ Transaction Processing System, Management Information System, Decision Support System เป็นต้น

4. ด้านการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หรือ Leadership in Technology และการสนับสนุนเงินทุนทางด้านการใช้เทคโนโลยี หรือ Funding for Technology

แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาของต่างประเทศ
1. การควบคุมผู้เรียน
2. ยุทธศาสตร์การสอน
3. จิตวิทยาและเทคโนโลยีการศึกษา
4. การปฏิสัมพันธ์
5. งบประมาณและความคุ้มค่า
6. ความคิดสร้างสรรค์
7. ทฤษฎีพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยี
8. รูปแบบการเรียนรู้
9. การนำมาใช้และเผยแพร่
10. การสร้างทฤษฎี และการพัฒนาการเรียนการสอน
11. องค์ประกอบที่มีผลในการออกแบบการเรียนรู้
12. ผลของเทคโนโลยีต่อสังคม

ทิศทางและแนวโน้มหรือนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา (ในประเทศไทย) 1.จะมีการทดลองใช้เทคโนโลยี www. เพื่อการศึกษาและการบริหารจัดการหลักสูตรมากขึ้น และผลการวิจัยจะมีการแสดงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพของการเรียนการสอนและลดข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี เป็นการเตรียมเข้าสู่ยุค E-Learning อย่างเต็มที่

2. จะมีการออกแบบระบบสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ทุกกลุ่ม ทั้งผู้ที่ทำงาน เด็ก ผู้พิการ ผู้ต้องขังและผู้สูงอายุ

3. จะมีการนำเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายมาใช้กับการศึกษาแบบเคลื่อนที่ (M-learning, U-learning) เช่น Mobile Phone (โทรศัพท์มือถือ) PDA และ Wi-Fi Technology สำหรับ Internet

4. จะมีการรับรองมาตรฐานของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นโดยมีกระบวนการและวิธีการรับรองมาตรฐานที่แตกต่างไปจากการรับรองมาตรฐานการผลิตผู้จบการศึกษาที่เป็นอยู่

5. จะมีการออกแบบโปรแกรมใหม่ ๆ นวัตกรรมการสอน และมีวิธีการสอนใหม่ๆ เกิดขึ้นตามศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีมากขึ้น

6. จะมีการจัดกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะของการเรียนการสอนที่ดีและสิ่งแวดล้อมการเรียนที่ดีซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมสำคัญของการเรียน(การออกแบบ

7. จะมีการขยายขอบข่ายของการเรียนการสอนไปได้ไกลขึ้น เริ่มคิดถึงภาพรวมทั้งโลกมากกว่าระดับชุมชนหรือระดับชาติเท่านั้น สถานศึกษาจะมีวิทยาเขตได้ทุกแห่งในโลกที่มี Internet ไปถึง มีการเข้าสู่การเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ

สรุป
การวิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบในการแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งยืนอยู่บนกรอบแนวคิดในศาสตร์และขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา

ทิศทางและแนวโน้มของการวิจัยเพื่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษาซึ่งก็คือ

นวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา